พฤติกรรมหรือคำพูดที่พนักงานแต่ละคนแสดงออกมา เกิดจากกรอบความคิด (Mindset) ที่เขามีต่อเรื่องนั้นๆ ซึ่งกรอบความคิดมาจาก ความเชื่อ ค่านิยม ประสบการณ์ ที่สะสมมาจากอดีตของแต่ละบุคคล ดังนั้น การพัฒนาผู้ปฏิบัติงานในปัจจุบันโดยให้ความรู้ หรือเทคนิคต่างๆ อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้อย่างยั่งยืนถ้าพนักงานยังคงใช้กรอบความคิดแบบเดิม การสร้างกรอบความคิดที่ดีโดยสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของงาน Ownership Mindset จึงมีความสำคัญเช่นกัน
โลกของการแข่งขันในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบวนการทำงานของทุกระดับในองค์กรมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังต้องแข่งขันกับเวลา ทำให้รูปแบบหรือกระบวนการทำงานเดิมขององค์กรอาจไม่เพียงพอที่จะเติบโตหรือแม้กระทั่ง รักษาขีดความสสามารถทางการแข่งขันที่มีอยู่เดิมไว้ได้
การทำงานโดยทั่วไปมักจะมีความสูญเปล่าแอบซ่อนอยู่ในกระบวนการ โดยมีทั้งแบบมองเห็นด้วยตาเปล่าและไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้นหากองค์กรใดสามารถลดความสูญเปล่าในขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานที่มีอยู่ได้มากเท่าไร ยิ่งจะส่งผลถึงต้นทุน กำไร ความพึงพอใจของลูกค้าและทีมงานรวมถึงช่วย เพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้มากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
อบรม ไคเซ็น(Kaizen) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้นหรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ได้ทำจบในครั้งเดียว แต่หมายถึงการทำอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักการคือ
กำหนดเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน
ค้นหาความสูญเปล่าในขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน
วิเคราะห์สาเหตุและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขจนกระทั่งบรรลุเป้าหมาย
กำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้นแล้วดำเนินการตามขั้นตอนปรับปรุงใหม่อีกครั้ง
ปฏิบัติตามวงจรนี้อย่างต่อเนื่อง
ปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นในการทำงานทำให้เกิดความสูญเสียซึ่งส่งผลกระทบกับผลผลิต ต้นทุน รวมทั้งอาจกระทบกับการดำเนินงานในส่วนอื่นๆ ซึ่งความสูญเสียบางประการเป็นสิ่งที่เราอาจป้องกันได้ ถ้าเข้าใจกระบวนการและวิเคราะห์ได้ถึงที่แหล่งที่มารวมทั้งกระบวนการที่ทำให้เกิดความสูญเสียนั้นๆ หลักการ ความสูญเสีย 7 ประการ (7 Waste) จะช่วยให้เราเข้าใจและมองได้เห็นถึงความเสี่ยงต่างๆ ในกระบวนการทำงานที่มีโอกาสทำให้เกิดความสูญเสียตามมา และการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร (6M : Man Machine Materials Money Method Management) จะช่วยให้เราป้องกันหรือหาแนวทางแก้ไขได้อย่างตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น
KAIZEN มีเทคนิคและเครื่องมือมากมายที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุง กระบวนการทำงานได้ เช่น 5ส , PDCA , Why-Why , ผังก้างปลา เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่นำหลักไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ควรมีทั้งความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องและกรอบความคิดที่ดีของการเป็นผู้พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและหลักการของไคเซ็น (Kaizen) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจและมองเห็นภาพของความสูญเปล่า และการทำงานที่เพิ่มคุณค่าได้ชัดเจนขึ้น
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการทำงานที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า 7 ประเภท พร้อมทั้งค้นหาสาเหตุที่ที่เกิดจากการบริหารจัดการทรัพยากร 6M ที่มีอยู่
เพื่อให้ผู้เรียนได้นำเทคนิคและเครื่องมือต่างๆ มาปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้